บริษัทจดทะเบียนใหม่ มาตรา 1171 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เมื่อจดทะเบียนเป็นบริษัทแล้ว คุณจะต้องจัดประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น จะต้องจัดประชุมครั้งแรกภายใน 6 เดือนนับจากวันที่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัท และต่อจากนั้นทุก ๆ รอบระยะเวลา 12 เดือน ส่วนใหญ่จะประชุมกันภายใน 120 วัน นับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาทางบัญชีของบริษัทให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นอีกอย่างน้อย 1 ครั้ง และลงประกาศหนังสือพิมพ์เชิญประชุมผู้ถือหุ้น 1 ครั้ง โดยลงประกาศในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 ตามมาตรา 1175
มาตรา 16 บริษัทจำกัดใด ไม่เรียกประชุมตามมาตรา ๑๑๗๑ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท ตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดบริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙
อนุมัติงบการเงิน (สามัญประจำปี) มาตรา 1175 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บริษัทไม่ลงพิมพ์โฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่, ไม่ส่งคำบอกกล่าวไปยังผู้ถือหุ้น ห รือไม่ระบุสถานที่, วัน, เวลา และสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมกันในคำบอกกล่าวตามมาตรา 1175 แห่งประมวลแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท ตามมาตรา 17 ของ พ.ร.บ.ความผิดดังกล่าว
มาตรา 17 บริษัทจำกัดใด ไม่ลงพิมพ์โฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ไม่ส่งคำบอกกล่าวไปยังผู้ถือหุ้น หรือไม่ระบุสถานที่ วัน เวลา และสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมปรึกษากันในคำบอกกล่าวตามมาตรา ๑๑๗๕ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท ตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดบริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙
ตัวอย่าง ประกาศ วันที่ 22 เม.ย. 256X
ประชุม วันที่ 30 เม.ย. 256X
**ไม่นับวันที่ประกาศและวันที่ประชุม**
สรุป
อนุมัติงบการเงิน ต้องลงประกาศหนังสือพิมพ์ 1 ครั้ง ก่อนประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หลังจากลงประกาศหนังสือพิมพ์ลูกค้าจะได้รับหนังสือพิมพ์ฉบับจริง เก็บไว้เป็นหลักฐานในการยื่นจดทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ภายใน 14 วันนับแต่วันประชุมสามัญผู้ถือและส่งงบการเงินที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่งบการเงินได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่และบริษัทต้องนำส่ง ภงด.50 และยื่นงบการเงินภายใน 150 วันนับจากวันที่สิ้นรอบบัญชีที่กรมสรรพากร
กรรมการเข้า-ออก อำนาจกรรมการ (ม.1151,1175)
การเปลี่ยนกรรมการบริษัทนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรรมการออก หรือเพิ่มกรรมการ บริษัทจะต้องจัดการประชุมผู้ถือหุ้น และลงประกาศหนังสือพิมพ์เชิญประชุมผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยลงประกาศในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือตามข้อกำหนดของบริษัท และส่งไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนของบริษัท เพื่อมีมติให้กรรมการออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้งกรรมการใหม่แทนคนที่ลาออกพร้อมทั้งมีมติให้แก้ไขอำนาจกรรมการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงกรรมการด้วย
ตัวอย่าง ประกาศ วันที่ 22 เม.ย. 256X
ประชุม วันที่ 30 เม.ย. 256X
**ไม่นับวันที่ประกาศและวันที่ประชุม**
สรุป
กรรมการเข้า-ออก แก้ไขอำนาจกรรมการ ต้องลงประกาศหนังสือพิมพ์ 1 ครั้ง ก่อนประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หลังจากลงประกาศหนังสือพิมพ์ลูกค้าจะได้รับหนังสือพิมพ์ฉบับจริง เก็บไว้เป็นหลักฐานในการยื่นจดทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 14 วัน หลังจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการ (ม.1157)
ย้ายสำนักงานใหญ่ – ข้ามจังหวัด (มาตรา 1148)
เมื่อคุณต้องการที่จะย้ายที่อยู่สำนักงานใหญ่ สาขา ภายในเขตหรือจังหวัดเดิม คุณจะต้อง
จัดการประชุมผู้ถือหุ้นและลงประกาศหนังสือพิมพ์เชิญประชุมผู้ถือหุ้น 1 ครั้ง โดยลงประกาศในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน เพื่อมีมติให้แก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานใหญ่
(หรือสำนักงานสาขา)
ตัวอย่าง ประกาศ วันที่ 15 เม.ย. 256X
ประชุม วันที่ 30 เม.ย. 256X
**ไม่นับวันที่ประกาศและวันที่ประชุม**
แก้ไขข้อบังคับบริษัทจำกัด (ม.1145-1146,1175,1194) *ใช้มติพิเศษ
การตั้งข้อบังคับขึ้นใหม่หรือแก้ไขข้อบังคับบริษัท หลังจากจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทแล้วนั้น จะต้องไม่ขัดแย้งกับหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทเองและไม่ขัดแย้งต่อกฎหมายหุ้นส่วนและบริษัทประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย ซึ่งสามารถทำได้โดยการลงมติพิเศษ โดยจะต้องจัดการประชุมผู้ถือหุ้นและลงประกาศหนังสือพิมพ์เชิญประชุมผู้ถือหุ้น 1 ครั้ง โดยลงประกาศในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น และส่งไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนของบริษัท ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน พร้อมระบุข้อความที่จะนำเสนอให้ลงมติด้วย โดยที่มติพิเศษคือมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่มีจำนวนเสียง 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในการประชุม
แก้ไขวัตถุประสงค์ของบริษัท (ม.1145 (ข้อความในหนังสือบริคณห์สนธิ ) -1146,1175,1194 ) *ใช้มติพิเศษ
เมื่อบริษัทไมีความต้องการประกอบกิจการค้าเพิ่มเติมจากวัตถุประสงค์ที่จดทะเบียนไว้ เช่น เดิมประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง แต่ต้องการประกอบกิจการรับจ้างออกแบบเพิ่ม คุณจะต้องทำการเพิ่มวัตถุประสงค์บริษัทหรือแก้ไขวัตถุประสงค์บริษัท โดยต้องจัดการประชุมผู้ถือหุ้นและลงประกาศหนังสือพิมพ์เชิญประชุมผู้ถือหุ้น 1 ครั้ง โดยลงประกาศในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน เพื่อมีมติพิเศษให้แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 3. (วัตถุที่ประสงค์)
เปลี่ยนชื่อบริษัท – ตราประทับ (ม.1145 (ข้อความในหนังสือบริคณห์สนธิ) -1146,1175,1194 ) *ใช้มติพิเศษ
เมื่อบริษัทต้องการเปลี่ยนชื่อบริษัทและตราประทับบริษัท คุณจะต้องแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 1 (ชื่อบริษัท) โดยต้องจัดการประชุมผู้ถือหุ้นและลงประกาศหนังสือพิมพ์เชิญประชุมผู้ถือหุ้น 1 ครั้ง โดยลงประกาศในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน เพื่อมีมติพิเศษให้แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 1. (ชื่อ)
ตัวอย่าง ประกาศ วันที่ 15 เม.ย. 256X
ประชุม วันที่ 30 เม.ย. 256X
**ไม่นับวันที่ประกาศและวันที่ประชุม**
อนุมัติ – เพิ่มทุน (ม.1120,1175,1194) *ใช้มติพิเศษ
การที่บริษัทออกหุ้นใหม่หรือเพิ่มทุน เพิ่มเติมจากหุ้นเดิมที่มีอยู่แล้ว เมื่อบริษัทประกอบการมาได้ในระยะหนึ่ง การดำเนินกิจการด้วยทุนจดทะเบียนตอนเริ่มจัดตั้งบริษัทอาจไม่เพียงพอสำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการหรือด้วยวัตถุประสงค์อื่น แตกต่างกันออกไปในแต่ละบริษัท โดยจะต้องจัดการประชุม
ผู้ถือหุ้นและลงประกาศหนังสือพิมพ์เชิญประชุมผู้ถือหุ้น 1 ครั้ง โดยลงประกาศในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน เพื่อให้มีมติพิเศษในการเพิ่มทุนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5 เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทุน โดยที่ประชุมต้องมีมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิ์ออกเสียงลงคะแนน
ตัวอย่าง ประกาศ วันที่ 15 เม.ย. 256X
ประชุม วันที่ 30 เม.ย. 256X
**ไม่นับวันที่ประกาศและวันที่ประชุม**
ควบบริษัท (มาตรา 1238-1240,1175,1194) *ใช้มติพิเศษ
เมื่อบริษัทจำกัดตั้งแต่ 2 บริษัท ขึ้นไปมารวมกันเป็นบริษัทเพียงบริษัทเดียวหรือเรียกว่า ควบบริษัท เพื่อขยายกิจการค้า ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โดยบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่อันเกิดจากการควบจะใช้ชื่อบริษัทเดิมที่ควบเข้ากัน หรือจะตั้งชื่อใหม่ก็ได้ บริษัทแต่ละบริษัทที่จะควบเข้ากันเรียกประชุมผู้ถือหุ้น โดยต้องจัดการประชุมผู้ถือหุ้นและลงประกาศหนังสือพิมพ์เชิญประชุมผู้ถือหุ้น 1 ครั้ง โดยลงประกาศในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน เพื่อมีมติพิเศษให้ควบบริษัทเข้าด้วยกัน
ตัวอย่าง ประกาศ วันที่ 15 เม.ย. 256X
ประชุม วันที่ 30 เม.ย. 256X
**ไม่นับวันที่ประกาศและวันที่ประชุม**
แปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัด (มาตรา 1246/1)
ปัจจุบันกฎหมายได้อำนวยความสะดวกให้สามารถแปรสภาพเป็นบริษัทได้โดยไม่ต้องเลิกห้างหุ้นส่วนก่อน และใช้ชื่อเดิมของห้างหุ้นส่วนได้ สำหรับขั้นตอนการดำเนินการจดทะเบียนแปรสภาพนั้น ห้างหุ้นส่วนต้องมีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป โดยหุ้นส่วนทุกคน ยินยอมร่วมกันทำบันทึกข้อตกลงแปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัด และหุ้นส่วนผู้จัดการต้องมีหนังสือแจ้งความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนให้นายทะเบียนทราบภายใน 14 วันนับแต่วันที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนให้ความยินยอมนอกจากนี้จะต้องทำการประกาศ โดยลงประกาศในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอย่างน้อย 1 คราว และมีหนังสือบอกกล่าวไปยังเจ้าหนี้ให้ทราบเรื่องที่ห้างหุ้นส่วนจะแปรสภาพ เป็นบริษัทจำกัด เพื่อให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิคัดค้านการแปรสภาพนั้น
ตัวอย่าง ประกาศ วันที่ 15 เม.ย. 256X
ประชุม วันที่ 30 เม.ย. 256X
**ไม่นับวันที่ประกาศและวันที่ประชุม**
อนุมัติ – ลดทุน (มาตรา 1224,1126) *ใช้มติพิเศษ
ขั้นตอนที่ 1 อนุมัติลดทุน
การที่บริษัทต้องการลดการออกหุ้นใหม่หรือลดมูลค่าทุน เมื่อต้องขนาดลดขนาดกิจการลง เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายของกิจการ หรือด้วยวัตถุประสงค์อื่น แตกต่างกันออกไปในแต่ละบริษัท โดยจะต้องจัดการประชุมผู้ถือหุ้นและลงประกาศหนังสือพิมพ์เชิญประชุมผู้ถือหุ้น 1 ครั้ง โดยลงประกาศในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน เพื่อให้มติพิเศษให้ลดทุนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (ทุน) ให้สอดคล้องกับทุนที่เพิ่ม
ขั้นตอนที่ 2 ประกาศลดทุน
การลดทุน, แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. หลังจากจดทะเบียนขั้นตอนที่ 1 แล้ว ต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังเจ้าหนี้ให้ทราบเรื่องการลดทุนบริษัทและลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอย่างน้อย 1 ครั้ง ภายใน 14 วันหลังจากมีมติในที่ประชุม เพื่อให้เจ้าหนี้ทราบการลดทุนและมีสิทธิคัดค้านภายใน 30 วัน นับแต่วันที่บอกกล่าว
ตัวอย่าง ประกาศ วันที่ 15 เม.ย. 256X
ประชุม วันที่ 30 เม.ย. 256X
**ไม่นับวันที่ประกาศและวันที่ประชุม**
มาตรา 22 บริษัทจำกัดใดไม่โฆษณา หรือไม่มีหนังสือบอกกล่าวความประสงค์จะลดทุนตามมาตรา ๑๒๒๖ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือจัดการลดทุนโดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๒๒๖ วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท ตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดบริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙
เลิกบริษัท (มาตรา 1236) *ใช้มติพิเศษ
ขั้นตอนในการจดเลิกบริษัทและโฆษณาหนังสือพิมพ์ มี 4 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 ประชุม อนุมัติเลิกบริษัท ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน
ตัวอย่าง ออกหนังสือนัด 1 เม.ย.xx วันประชุม 16 เม.ย.xx ประกาศโฆษณาหนังสือพิมพ์ 1 ฉบับ
ขั้นตอนที่ 2 ประกาศแจ้งเจ้าหนี้-ลูกหนี้ หลังจากมีมติให้เลิกจากที่ประชุม ออกหนังสือแจ้งเลิกบริษัท ประกาศหลังวันมีมติจากที่ประชุม ภายใน 14 วัน
ตัวอย่าง มีมติให้เลิก 16 เม.ย.xx ประกาศภายใน 16-29 เม.ย.xx ประกาศโฆษณาหนังสือพิมพ์ 1 ฉบับ
แจ้งวันที่มีมติให้เลิก แจ้งเจ้าหนี้ ลูกหนี้ ให้ทราบ และติดต่อชำระหนี้หรือยื่นคำทวงหนี้
ขั้นตอนที่ 3 หนังสือเชิญประชุมวิสามัญ อนุมัติงบ ณ วันเลิก มติธรรมดา ดำเนินการก่อนไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันนัดประชุม
ตัวอย่าง ปิดงบ เสร็จ 6 เม.ย.xx ออกหนังสือนัด 7 เม.ย.xx วันประชุม 15 เม.ย.xx
ขั้นตอนที่ 4 หนังสือเชิญประชุมวิสามัญ อนุมัติการชำระบัญชี มติธรรมดา ดำเนินการก่อนไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันนัดประชุมการประชุมอนุมัติงบ ณ วันเลิก และ อนุมัติการชำระบัญชี (ลำดับที่ 3 และ 4) สามารถกระทำได้ไปในครั้งเดียวกัน
เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด (มาตรา 1253)
ไม่ต้องลงโฆษณาเชิญประชุมผู้เป็นหุ้นส่วนในหนังสือพิมพ์ ลงโฆษณาเฉพาะประกาศเลิก และ แปรสภาพ เท่านั้น ประกาศเลิกห้างหุ้นส่วน
- ลงประกาศเลิกห้างในหนังสือพิมพ์ อย่างน้อย 1 ครั้ง ภายใน 14 วัน นับจากวันเลิกห้างหุ้นส่วน
ตัวอย่าง มีมติ 1 เม.ย.xx ประกาศ ภายใน 1-14 เม.ย.xx ประกาศ/โฆษณา หนังสือพิมพ์ 1 ฉบับ
อนุมัติจ่ายเงินปันผล (ม.1201,ม.1204)
”รู้หรือไม่ บริษัทจ่ายเงินปันผล ต้องลงประกาศหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น”
บริษัทที่มีผลประกอบการเป็นเงินกำไร จะสามารถจ่ายเงินปันผล (Dividend) เพื่อเป็นการตอบแทนผู้ถือหุ้นที่ได้ซื้อหุ้นลงทุนในบริษัท โดยสามารถจ่ายได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเงินสด สินทรัพย์ หรือเป็นจำนวนหุ้น
นอกจากนี้เอง กรรมการยังสามารถจ่ายเงินปันผลได้เป็นครั้งคราว เมื่อบริษัทมีผลกำไรที่เหมาะสม โดยอาศัยอำนาจของกรรมการบริษัท ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีมติจากที่ประชุมใหญ่ ซึ่งจะเรียกว่า เงินปันผลระหว่างกาล (Interim Dividend Payment) แต่ในทางปฏิบัติ แม้จะขาดทุนบางบริษัทมีมาตรการในการจ่ายเงินปันผล เพื่อรักษาความเชื่อมั่นของผู้ถือหุ้น
โดยการจ่ายเงินปันผล ตามกฎหมายได้มีการระบุไว้ว่า จะต้องจ่ายภายใน 1 เดือนนับจากวันที่ประชุมหรือกรรมการมีมติ ซึ่งตามกฎหมาย ระบุว่าต้องลงประกาศในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอย่างน้อย 1 ฉบับ เป็นเวลา 2 ครั้ง ได้แก่ การลงประกาศเชิญประชุมผู้ถือหุ้น และลงประกาศจ่ายเงินปันผล หรือ จดหมายบอกกล่าวไปยังผู้ถือหุ้นทุกคน ซึ่งมีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท หากไม่ทำการลงประกาศในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท (ตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วน ฯ)
มาตรา 19 บริษัทจำกัดใดจ่ายเงินปันผลโดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๒๐๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ หรือแจกเงินปันผลโดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๒๐๒ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวาง โทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท เงินใด ๆ ที่จ่าย หรือแจก ให้แก่ผู้ถือหุ้นในฐานะเป็นผู้ถือหุ้นนอกจากเงินค่าหุ้นให้ถือว่า เป็นเงิน ปันผลตามมาตรานี
ขั้นตอนที่ 1 อนุมัติจ่ายเงินปันผล
จัดทำหนังสือเชิญประชุมอนุมัติจ่ายเงินปันผล กำหนดวันที่ประชุมตามโดยกำหนดต้องลงประกาศหนังสือพิมพ์ก่อนประชุมอย่างน้อย 7 วัน โดยลงประกาศโฆษณาหนังสือพิมพ์กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น 1 ครั้ง
ตัวอย่าง ประกาศ วันที่ 22 เม.ย. 256X
ประชุม วันที่ 30 เม.ย. 256X
**ไม่นับวันที่ประกาศและวันที่ประชุม**
ขั้นตอนที่ 2 ประกาศจ่ายเงินปันผล
ลงประกาศหนังสือพิมพ์ กำหนดจ่ายเงินปันผล ต้องลงประกาศ ภายใน 14 วันหลังจากมีมติจาก
ที่ประชุม และกำหนดวันที่จ่ายเงินภายใน 1 เดือน
ตัวอย่าง
ประชุมและมีมติ วันที่ 1 เม.ย. 256X
ประกาศจ่ายภายใน วันที่ 1-14 เม.ย. 256X